วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558
บทที่ 5 สมบัติของแก๊ส
1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
บทที่ 5 สมบัติของของเหลว
1.) ของเหลวมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ
2.) ของเหลวประกอบด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างไม่ค่อยเห็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อย
3.) โมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกันมากกว่าก๊าซ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่า
4.) ปริมาตรของของเหลวเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน
5.) ของเหลวส่วนใหญ่มีความหนาเเน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของเเข็ง
บทที่5 สมบัติของของแข็ง
สมบัติของของแข็ง
1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
4. สามารถระเหิดได้
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แตก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา
บทที่ 4 สารละลาย
1. ความหมายสารละลายเเละองค์ประกอบของสารละลาย
สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
อ่านเพิ่มเติมบทที่ 4 มวลโมเลกุล
โมเลกุล
หมายถึง อนุภาคเล็กที่สุดของสาร ซึ่งสามารถอยู่เป็นอิสระและแสดงสมบัติเฉพาะตัวของสารนั้น ๆ ได้ อาจเป็นได้ทั้งโมเลกุลของธาตุหรือสารประกอบก็ได้ อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 4 มวลอะตอม
เนื่อง จาก อะตอม ของ แต่ ละ ธาตุ มี มวล น้อย มาก เช่น อะตอม ของ ไฮโดรเจน มี มวล 1.66 * 10-24 กรัม อะตอม ของ ออกซิเจน มี มวล 2.65 * 10-23 กรัม ทำ ให้ ไม่ สามารถ ชั่ง มวล ของ ธาตุ 1อะตอม ได้ โดย ตรง ดอลตัน จึง ได้ พยายาม หา มวล อะตอม ของ แต่ ละ ธาตุ โดย ใช้ วิธี การ เปรียบ เทียบ ว่าอะตอ มาตุ ชนิด หนึ่ง มี มวล เป็น กี่ ท่า ของ อะตอม ของ อีก ธาตุ หนึ่ง ที่ กำหนด ให้ เป็น มาตร ฐาน อ่านเพื่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)